เหตุใดการดื่มก่อนวัยอันควรจึงผิดกฎหมายและเป็นอันตราย

หลายประเทศทั่วโลกกำหนดอายุในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (1) ทำให้การซื้อแอลกอฮอล์เป็นเรื่องผิดกฎหมายสำหรับผู้เยาว์ นี่คือเหตุผลที่หนักแน่นประการหนึ่ง
เหตุใดการดื่มก่อนวัยอันควรจึงผิดกฎหมายและเป็นอันตราย
เหตุใดการดื่มก่อนวัยอันควรจึงผิดกฎหมายและเป็นอันตราย

ร่างกายและสมองของเยาวชนยังคงมีพัฒนาการอยู่

ร่างกายของเยาวชนยังคงมีพัฒนาการในช่วงวัยรุ่น ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อผลกระทบของแอลกอฮอล์ การดื่มตั้งแต่อายุยังน้อยอาจรบกวนพัฒนาการตามปกติของสมอง (2) นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของอวัยวะที่สำคัญ ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในภายหลัง

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มหนัก สามารถส่งผลกระทบต่อสมองที่ไม่สามารถแก้ไขได้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและความเสียหายที่จะมีผลระยะยาว (3-5) และสามารถขัดขวางการสร้างการเชื่อมโยงของสมอง และอาจขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้และความจำ

การดื่มตั้งแต่อายุยังน้อยอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจและอาจเพิ่มโอกาสในการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดในอนาคต (6). ยิ่งเยาวชนเริ่มดื่มเป็นประจำและดื่มหนักเร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มากขึ้นเท่านั้น

แอลกอฮอล์มีผลต่อวัยรุ่นแตกต่างจากผู้ใหญ่

การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เนื่องจากสมองของวัยรุ่นยังคงมีพัฒนาการ พวกเขาอาจไม่ได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ (7) เป็นผลให้บางคนอาจดื่มบ่อยขึ้นหรือหนักขึ้น เปิดโอกาสให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ได้

การดื่มแอลกอฮอล์และวัยรุ่น ควรแยกออกจากกัน

วัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์อย่างเข้มข้น การดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่ออารมณ์ งานวิจัยบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่าการดื่มในช่วงวัยรุ่น โดยเฉพาะการดื่มหนัก อาจชะลอการเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาวและมีผลต่อความหนาแน่นของกระดูก ความสูง และน้ำหนัก

มีกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการดื่มก่อนวัยอันควร

การจำกัดอายุตามกฎหมายได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องเยาวชนในช่วงที่มีความเสี่ยง และรัฐบาลทั่วโลกได้กำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำของการดื่มและซื้อแอลกอฮอล์ (1). แต่ละประเทศมีการจำกัดอายุที่แตกต่างกัน โดยใช้วัฒนธรรมและการรับรู้เกี่ยวกับแอลกอฮอล์เป็นตัวกำหนด แม้ว่าเกณฑ์ดังกล่าวจะอยู่ในช่วง 16-25 ปี แต่ 18 ปีเป็นเกณฑ์อายุที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย

การป้องกันการดื่มก่อนวัยอันควรสามารถผสมผสานกลยุทธ์ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่บางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้นเกี่ยวข้องกับการที่ครอบครัวและคนรอบข้างเข้ามามีบทบาทสำคัญ ผู้ปกครองและคนรอบข้างเป็นอิทธิพลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเด็กและวัยรุ่นเมื่อพูดถึงการดื่มแอลกอฮอล์ (10, 11) ในช่วงต้น พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่สำคัญ พวกเขาสามารถช่วยกำหนดรูปแบบการดื่มและทัศนคติที่จะคงอยู่ไปตลอดชีวิต คนรอบข้างก็มีความสำคัญในช่วงวัยรุ่นเช่นกัน เนื่องจากเป็นช่วงที่ความกดดันในการปรับตัวเข้ากับสังคมและการเป็นอิสระเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

ความสำคัญของครอบครัวและคนรอบข้างเป็นหัวใจสำคัญของความพยายามในการป้องกันการดื่มสุราในกลุ่มเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (12). โดยบางส่วนจะเกี่ยวข้องกับการให้ความรู้เยาวชนเกี่ยวกับการดื่มสุราและรูปแบบการดื่มที่เป็นอันตราย เช่น การดื่มที่มากเกินไป  (13-15). นอกจากนั้น ส่วนอื่น ๆ มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความสามารถของผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัวในการรับมือกับการดื่มแอลกอฮอล์ (16, 17) การสร้างทักษะที่สอนความยืดหยุ่นและความสามารถในการต้านทานแรงกดดันทางสังคมเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์และความท้าทายอื่น ๆ ในชีวิตก็เป็นการยื่นมือเข้าช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน (18).

References
  1. International Alliance for Responsible Drinking (IARD). Minimum legal age limits. 2020; Available from:
  2. Spear, L.P., Effects of adolescent alcohol consumption on the brain and behaviour. Nat Rev Neurosci, 2018. 19(4): p. 197-214.
  3. Spear, L.P., Adolescent alcohol exposure: Are there separable vulnerable periods within adolescence? Physiol Behav, 2015. 148: p. 122-30.
  4. Squeglia, L.M. and K.M. Gray, Alcohol and Drug Use and the Developing Brain. Curr Psychiatry Rep, 2016. 18(5): p. 46
  5. Lees, B., et al., Effect of alcohol use on the adolescent brain and behavior. Pharmacol Biochem Behav, 2020. 192: p. 172906.
  6. Bagley, S.M., S. Levy, and S.F. Schoenberger, Alcohol Use Disorders in Adolescents. Pediatr Clin North Am, 2019. 66(6): p. 1063-1074.
  7. Tapert, S.F., L. Caldwell, and C. Burke, Alcohol and the adolescent brain. Human studies. Alcohol Research and Health, 2004. 28(4): p. 205-212.
  8. Ning, K., et al., The association between early life mental health and alcohol use behaviours in adulthood: A systematic review. PLoS One, 2020. 15(2): p. e0228667
  9. Sanci, L., M. Webb, and J. Hocking, Risk-taking behaviour in adolescents. Aust J Gen Pract, 2018. 47(12): p. 829-834.
  10. Williams, J.F., R.S. Burton, and S.S. Warzinski, The role of the parent in adolescent substance use. Pediatric Annals, 2014. 43(10): p. E237-E241
  11. Ivaniushina, V., V. Titkova, and D. Alexandrov, Peer influence in adolescent drinking behaviour: a protocol for systematic review and meta-analysis of stochastic actor-based modeling studies. BMJ Open, 2019. 9: p. e028709.
  12. Griffin, K.W. and G.J. Botvin, Evidence-based interventions for preventing substance use disorders in adolescents. Child Adolesc Psychiatr Clin N Am, 2010. 19(3): p. 505-526.
  13. MacArthur, G.J., et al., Individual‐, family‐, and school‐level interventions targeting multiple risk behaviours in young people. Cochrane Database of Systematic Reviews, 2018. 2018(10): p. CD009927.
  14. MacArthur, G.J., et al., Peer-led interventions to prevent tobacco, alcohol and/or drug use among young people aged 11-21 years: a systematic review and meta-analysis. . Addiction, 2016. 111(3): p. 391-407.
  15. Anderson-Carpenter, K.D., et al., Reducing binge drinking in adolescents through implementation of the strategic prevention framework. American Journal of Community Psychology, 2016. 57: p. 36-4.
  16. Riesch, S.K., et al., Strengthening Families Program (10-14): effects on the family environment. Western Journal of Nursing Research, 2012. 34(3): p. 340-376.
  17. Kumpfer, K., Family-based interventions for the prevention of substance abuse and other impulse control disorders in girls. ISRN Addiction, 2014. 2014: p. 208789.
  18. United Nations Children's Fund (lUNICEF). Life skills. 2003; Available from: