การดื่มส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปอย่างไร

แม้ว่าผลกระทบของการดื่มจะแตกต่างกันไปในผู้ใหญ่แต่ละคน และบางคนก็ไม่ควรดื่มเลยจะดีที่สุด แต่ก็มีข้อเท็จจริงบางประการที่คุณควรทราบ

การดื่มส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปอย่างไร
การดื่มส่งผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปอย่างไร

เมื่อดื่มมากเกินไป ผลที่ตามมาในระยะสั้นอาจไม่น่าพึงประสงค์

การเมาจะทำให้การตอบสนองของคุณช้าลงและลดวิจารณญาณของคุณ ซึ่งอาจทำให้คุณหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ (1, 2) การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายในช่วงเวลานั้น หรือมีอาการเมาค้างในวันถัดไป และหากคุณดื่มมากถึงขีดสุด คุณอาจต้องเข้าโรงพยาบาลด้วยพิษจากแอลกอฮอล์ (3) วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาของการดื่ม ก็คือตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณดื่มไม่เกินระดับที่แนะนำภายใต้แนวทางการดื่มอย่างเป็นทางการ และหลีกเลี่ยงการดื่มโดยสิ้นเชิงหากคุณกำลังขับรถหรือมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง

การดื่มอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณและส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ

ก. ผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจากการดื่มมากเกินไป

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มหนักเป็นประจำมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ได้แก่ โรคตับ (4, 5) ความดันโลหิตสูง (6, 7) โรคหัวใจ (8) และมะเร็งบางชนิด (9-11) การศึกษายังพบความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเล็กน้อยถึงปานกลางกับความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง (11-13)

นอกเหนือจากปริมาณที่คุณดื่ม ผลกระทบที่การดื่มแอลกอฮอล์อาจมีต่อสุขภาพของคุณยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประวัติครอบครัว พันธุกรรม และวิถีชีวิต แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าการดื่มมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณ ไม่เพียงสุขภาพทางกายเท่านั้น การดื่มมากเกินไปยังสามารถส่งผลต่อสุขภาพจิตและอารมณ์ของคุณ หากคุณมีคำถามว่าการดื่มของคุณอาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

ข. ผลกระทบของการดื่มต่ออวัยวะต่าง ๆ

แอลกอฮอล์ที่คุณดื่มส่งผลต่ออวัยวะ ของคุณ ซึ่งผลกระทบนี้จะมากกว่าผลกระทบด้านอื่น ๆ (2) นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปริมาณที่คุณดื่ม สุขภาพของคุณ และประสิทธิภาพในการย่อยแอลกอฮอล์ของร่างกาย

แอลกอฮอล์ที่คุณดื่มจะพุ่งตรงไปที่สมองของคุณเป็นหลัก (14) การสื่อสารทั้งภายในสมอง และระหว่างสมองกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายจะได้รับผลกระทบจากการบริโภคแอลกอฮอล์ การดื่มมากเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง ส่งผลต่อการประสานงานของร่างกายและทำให้ประสาทสัมผัสของคุณเฉื่อยชา ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น แอลกอฮอล์จะทำให้ระบบประสาทของคุณช้าลง และลดความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและตอบสนอง ซึ่งจะทำให้คุณคิดอย่างชัดเจนได้ยากขึ้น และอาจส่งผลต่อวิจารณญาณของคุณ ทำให้คุณและผู้ที่อยู่รอบตัวตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย

คุณดื่มมากแค่ไหนจะส่งผลต่อตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณดื่มมากเกินไป (15, 16) ตับทำหน้าที่ย่อยแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มและ เผาผลาญ สารพิษที่ถูกสร้างขึ้น เนื่องจากตับสามารถเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้ประมาณหนึ่งดื่มมาตรฐานต่อชั่วโมง การดื่มเกินกว่านี้ไม่เพียงหมายความว่าแอลกอฮอล์จะเข้าสู่เลือดของคุณมากขึ้นและทำให้คุณมึนเมาเท่านั้น แต่สารพิษเหล่านี้จะสะสมในตับของคุณด้วย สารพิษเหล่านี้จะถูกย่อยหลังเวลาผ่านไปในที่สุด และถูกขับออกจากร่างกายของคุณทางปัสสาวะ แต่ในระหว่างนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อตับของคุณได้ (5, 15, 16 30) ผู้ที่ดื่มหนักเป็นเวลานานสามารถเกิดภาวะที่เรียกว่าตับแข็งได้

การดื่มในระดับปานกลางอาจลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในบางคน (17) แต่สำหรับคนอื่น ๆ การดื่มในระดับปานกลางอาจมีความเสี่ยง สำหรับผู้หญิงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม (12) และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ (18) การดื่มในระดับปานกลางเป็นอันตรายต่อเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (19, 20) หากคุณเป็นคนดื่มเหล้าหนักหรือดื่มหนักแบบรวดเดียว คุณอาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของหัวใจ และมีโอกาสในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร การดื่มหนักนั้นมีความเสี่ยงสำหรับทุกคน

หากคุณกังวลว่าการดื่มของคุณอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมหรือสุขภาพของอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย แนวทางที่ดีที่สุดคือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อระบุระดับความเสี่ยงและแนวทางการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุดร่วมกันได้ และเพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหลายประเทศได้พัฒนา แนวทาง ในการดื่มและผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อสุขภาพ คุณควรดื่มให้อยู่ในเกณฑ์ที่แนะนำเหล่านี้เสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

พยาบาลตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยหญิง
พยาบาลตรวจวัดความดันโลหิตของผู้ป่วยหญิง

ประโยชน์ที่เป็นไปได้ของการดื่มในระดับปานกลาง

การศึกษาทางการแพทย์พบว่าผู้ที่ดื่มในระดับปานกลางอาจลดความเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพบางอย่างได้ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มเลยหรือผู้ที่ดื่มหนัก ภาวะเหล่านี้ ได้แก่ โรคหัวใจ (17, 21) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (22, 23) และความจำและการทำงานของสมองที่ดีขึ้นสำหรับผู้สูงอายุบางรายที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม (24-26) หลักฐานชี้ว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้เหล่านี้มักเกิดกับวัยกลางคนและผู้สูงอายุเป็นหลัก แม้ว่ารายงานความเสี่ยงที่ลดลงของโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นทั้งชายและหญิง แต่ผลกระทบเฉพาะรายบุคคลอาจแตกต่างกันไป

การศึกษาที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีในหลายประเทศ พบว่าผู้ที่ดื่มในระดับปานกลางยังมีความเสี่ยงโดยรวมที่ลดลงจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บรวมกัน (27-29) ความเสี่ยงโดยเฉลี่ยนี้เรียกอีกอย่างว่าอัตราการเสียชีวิตแบบ "รวมทุกสาเหตุ" กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ดื่มเล็กน้อยหรือปานกลางจะมีอัตราการเสียชีวิตลดลงจากสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมด โดยรวมถึงผู้ที่งดดื่มสุราอย่างสิ้นเชิง และผู้ดื่มที่หนักหรือมากเกินไป ยิ่งดื่มมากเท่าไรความเสี่ยงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงนี้อธิบายด้วยเส้นโค้งในรูปตัวอักษร “J” และมักเรียกกันว่า “เส้นโค้ง J” แม้ว่าการศึกษาล่าสุดบางชิ้นได้ตั้งคำถามกับข้อสรุปนี้ (30) แต่งานวิจัยใหม่ ๆ ยังคงสนับสนุนความสัมพันธ์นี้ (27, 29, 31, 32) อย่างไรก็ตามการศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับอัตราการเสียชีวิตแบบรวมทุกสาเหตุยังคงมีข้อจำกัด และวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์นี้ยังคงพัฒนาต่อไป

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแนวคิดเรื่อง "อัตราการเสียชีวิตแบบรวมทุกสาเหตุ" และการลดความเสี่ยง เป็นค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่กล่าวถึงในหมวดอื่น ๆ

หากปัจจุบันคุณไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ คุณไม่ควรเริ่มต้นการดื่มเพื่อเหตุผลด้านสุขภาพ แอลกอฮอล์ส่งผลกระทบแตกต่างกันในแต่ละคน และความเสี่ยงต่าง ๆ นั้นไม่เหมือนกันสำหรับทุกคน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวคุณ ควรปฏิบัติตามแนวทางอย่างเป็นทางการ เช่น ในสหราชอาณาจักร คำแนะนำในการดื่มจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สำหรับชายและหญิง คือไม่เกิน 14 หน่วยดื่มต่อสัปดาห์ (33, 34)

References
  1. Sullivan, E.V., R.A. Harris, and A. Pfefferbaum, Alcohol's effects on brain and behavior. Alcohol Res Health, 2010. 33(1-2): p. 127-43.
  2. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Alcohol's Effects on the Body. 2020; Available from:
  3. Jung, Y.C. and K. Namkoong, Alcohol: intoxication and poisoning - diagnosis and treatment. Handb Clin Neurol, 2014. 125: p. 115-21.
  4. Seitz, H.K., et al., Alcoholic liver disease. Nat Rev Dis Primers, 2018. 4(1): p. 16.
  5. Roerecke, M., et al., Alcohol Consumption and Risk of Liver Cirrhosis: A Systematic Review and Meta-Analysis. Am J Gastroenterol, 2019. 114(10): p. 1574-1586.
  6. Hillbom, M., P. Saloheimo, and S. Juvela, Alcohol consumption, blood pressure, and the risk of stroke. Curr Hypertens Rep, 2011. 13(3): p. 208-13.
  7. Puddey, I.B. and L.J. Beilin, Alcohol is bad for blood pressure. Clin Exp Pharmacol Physiol, 2006. 33(9): p. 847-52.
  8. Gardner, J.D. and A.J. Mouton, Alcohol effects on cardiac function. Compr Physiol, 2015. 5(2): p. 791-802.
  9. International Agency for Research on Cancer (IARC), Alcohol Consumption and Ethyl Carbamate, in IARC Monographs on the Identification of Carcinogenic Hazards to Humans. 2010, IARC: Lyon.
  10. National Cancer Institute (NCI). Risk factors for cancer. 2015; Available from:
  11. World Cancer Research Fund International (WCRFI), Diet, Nutrition, Physical Activity and Cancer: a Global Perspective. 2018, WCRFI: London.
  12. Bagnardi, V., et al., Alcohol consumption and site-specific cancer risk: a comprehensive dose-response meta-analysis. Br J Cancer, 2015. 112(3): p. 580-93.
  13. Tamimi, R.M., et al., Population Attributable Risk of Modifiable and Nonmodifiable Breast Cancer Risk Factors in Postmenopausal Breast Cancer. Am J Epidemiol, 2016. 184(12): p. 884-893.
  14. Abrahao, K.P., A.G. Salinas, and D.M. Lovinger, Alcohol and the Brain: Neuronal Molecular Targets, Synapses, and Circuits. Neuron, 2017. 96(6): p. 1223-1238.
  15. Rocco, A., et al., Alcoholic disease: liver and beyond. World J Gastroenterol, 2014. 20(40): p. 14652-9.
  16. Cederbaum, A.I., Alcohol metabolism. Clin Liver Dis, 2012. 16(4): p. 667-85.
  17. Ronksley, P.E., et al., Association of alcohol consumption with selected cardiovascular disease outcomes: a systematic review and meta-analysis. Bmj, 2011. 342: p. d671.
  18. Caputo, C., E. Wood, and L. Jabbour, Impact of fetal alcohol exposure on body systems: A systematic review. Birth Defects Res C Embryo Today, 2016. 108(2): p. 174-80.
  19. Lees, B., et al., Effect of alcohol use on the adolescent brain and behavior. Pharmacol Biochem Behav, 2020. 192: p. 172906.
  20. Spear, L.P., Effects of adolescent alcohol consumption on the brain and behaviour. Nat Rev Neurosci, 2018. 19(4): p. 197-214.
  21. Kannel, W.B. and R.C. Ellison, Alcohol and coronary heart disease: the evidence for a protective effect. Clin Chim Acta, 1996. 246(1-2): p. 59-76.
  22. Li, X.H., et al., Association between alcohol consumption and the risk of incident type 2 diabetes: a systematic review and dose-response meta-analysis. Am J Clin Nutr, 2016. 103(3): p. 818-29.
  23. Neuenschwander, M., et al., Role of diet in type 2 diabetes incidence: umbrella review of meta-analyses of prospective observational studies. Bmj, 2019. 366: p. l2368.
  24. Sinforiani, E., et al., The effects of alcohol on cognition in the elderly: from protection to neurodegeneration. Funct Neurol, 2011. 26(2): p. 103-6.
  25. Brust, J.C., Ethanol and cognition: indirect effects, neurotoxicity and neuroprotection: a review. Int J Environ Res Public Health, 2010. 7(4): p. 1540-57.
  26. Rehm, J., et al., Alcohol use and dementia: a systematic scoping review. Alzheimers Res Ther, 2019. 11(1): p. 1.
  27. Colpani, V., et al., Lifestyle factors, cardiovascular disease and all-cause mortality in middle-aged and elderly women: a systematic review and meta-analysis. Eur J Epidemiol, 2018. 33(9): p. 831-845.
  28. Di Castelnuovo, A., et al., Alcohol dosing and total mortality in men and women: an updated meta-analysis of 34 prospective studies. Arch Intern Med, 2006. 166(22): p. 2437-45.
  29. Xuan, Z., Consuming 100 g/week or less of alcohol was associated with the lowest risk of all-cause mortality. BMJ Evid Based Med, 2019. 24(3): p. 117-118.
  30. Stockwell, T., et al., Do "Moderate" Drinkers Have Reduced Mortality Risk? A Systematic Review and Meta-Analysis of Alcohol Consumption and All-Cause Mortality. J Stud Alcohol Drugs, 2016. 77(2): p. 185-98.
  31. Li, Y., et al., Impact of Healthy Lifestyle Factors on Life Expectancies in the US Population. Circulation, 2018. 138(4): p. 345-355.
  32. Wood, A.M., et al., Risk thresholds for alcohol consumption: combined analysis of individual-participant data for 599 912 current drinkers in 83 prospective studies. Lancet, 2018. 391(10129): p. 1513-1523.
  33. U.K. Government, UK Chief Medical Officers' Low Risk Drinking Guidelines. 2016, UK Government: London.
  34. U.K. National Health Service (NHS). Alcohol units. 2018; Available from: