มีความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มและมะเร็งหรือไม่

นี่คือวิธีที่การดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง

มีความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มและมะเร็งหรือไม่
มีความเชื่อมโยงระหว่างการดื่มและมะเร็งหรือไม่

มะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อนซึ่งมีสาเหตุและได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย (1) การดื่มไม่ว่าจะเป็นเบียร์ ไวน์ หรือสุรากลั่นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุเหล่านั้น แต่ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งหลายชนิดเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งรวมถึง พันธุกรรมและประวัติครอบครัว อายุและขนาดร่างกายของคุณ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง เช่น การฉายรังสี และการติดเชื้อไวรัส (2)

นอกจากนี้ปัจจัยด้านวิถีชีวิตก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดยสามารถแก้ไขได้เพื่อลดความเสี่ยง (2). เช่น การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินชีวิตเดียวที่สำคัญที่สุดสำหรับมะเร็งเกือบทุกชนิด (3) วิธีที่คุณดื่มและปริมาณที่ดื่มก็สามารถส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของคุณได้ (4)

การศึกษาวิจัยพบว่าการดื่มหนักหรือมากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปาก คอและกล่องเสียง หรือมะเร็งทางเดินอาหารส่วนบน (5, 6, 7) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่หรือใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (7, 8, 9) ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเหล่านี้เหมือนกันสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ว่าพวกเขาจะดื่มเบียร์ ไวน์ หรือสุราก็ตาม (4, 7)

  • ผู้ที่ดื่มหนักหรือมากเกินไปยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับอีกด้วย (5, 10) โรคตับแข็งซึ่งเป็นผลมาจากการดื่มที่หนักและมากเกินไปในระยะยาวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งตับ โดยมีปัจจัยเสี่ยงอิสระอื่น ๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ (11) โรคอ้วน (12, 13) ตลอดจนการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (10)

  • การดื่มหนักหรือมากเกินไปยังเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ (4, 5, 14) การศึกษาบางชิ้นรายงานว่าความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจะเพิ่มขึ้นเมื่อดื่มในระดับปานกลาง (15, 16) โดยเฉพาะในผู้ชาย (17)

  • งานวิจัยยังพบว่าความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมสามารถเพิ่มขึ้นได้ในหมู่ผู้หญิงที่ดื่ม เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าจะดื่มในระดับปานกลางก็ตาม (5) ความเสี่ยงสัมพัทธ์  ของการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้นในผู้หญิงที่ดื่ม แต่ในการพิจารณาความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องทราบด้วยว่าอะไรคือ ความเสี่ยงสัมบูรณ์  ของการเกิดมะเร็งเต้านม

  • ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร ผู้หญิง 116 คนต่อ 1,000 คนมีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงชีวิตของพวกเธอ ซึ่งหมายความว่าผู้หญิงในสหราชอาณาจักรมีความเสี่ยง 11.6% ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม

เปรียบเทียบกับการไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย:

  • การดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 12.5 กรัมต่อวัน (หนึ่งหน่วยดื่มมาตรฐานในไทยมีเอทานอล 10 กรัม) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงได้ 4% ซึ่งหมายความว่าที่ระดับการดื่มนี้ ความเสี่ยงสัมบูรณ์จะเพิ่มขึ้นจาก 11.6% เป็น 12.1%
  • การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่าง 12.5 ถึง 50 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงถึง 23% ดังนั้นในการดื่มที่ระดับนี้ ความเสี่ยงสัมบูรณ์จะเพิ่มขึ้นจาก 11.6% เป็น 14.3%
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 50 กรัมต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในผู้หญิงถึง 61% ในการดื่มที่ระดับนี้ ความเสี่ยงสัมบูรณ์จะเพิ่มขึ้นจาก 11.6% เป็น 18.7%ที่มา: (5)

ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มสุราและมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับว่าผู้หญิงดื่มมากแค่ไหน และจะเพิ่มขึ้นเมื่อดื่มหนักและมากเกินไป นอกจากนี้ ความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น โรคอ้วน ประวัติการเจริญพันธุ์ สูบบุหรี่หรือไม่ และมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวหรือไม่ (2, 18, 19).

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของการเกิดมะเร็งมีปฏิกิริยาต่อกัน และเกิดขึ้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน (1) จึงมีแนวทางใหม่ในการรักษาที่ศึกษาความแตกต่างเหล่านี้มากขึ้น เพื่อพัฒนาสูตรการรักษาเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย (20).

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของคุณได้ รวมไปถึงวิธีการดื่มของคุณที่ควรเป็นไปตามแนวทางของรัฐบาล แนะนำ สำหรับบางคนไม่ควรดื่มเลยจะดีที่สุด แต่เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามเฉพาะ และรับคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดื่มอย่างชาญฉลาดของคุณ

References
  1. National Cancer Institute (NCI). Risk factors for cancer. 2015; Available from:
  2. World Cancer Research Fund International (WCRFI), Diet, Nutrition, Physical Activity and Cancer: a Global Perspective. . 2018, WCRFI: London.
  3. Sasco, A.J., M.B. Secretan, and K. Straif, Tobacco smoking and cancer: a brief review of recent epidemiological evidence. Lung Cancer, 2004. 45 Suppl 2: p. S3-9.
  4. International Agency for Research on Cancer (IARC), Alcohol Consumption and Ethyl Carbamate, in IARC Monographs on the Identification of Carcinogenic Hazards to Humans. 2010, IARC: Lyon.
  5. Bagnardi, V., et al., Alcohol consumption and site-specific cancer risk: a comprehensive dose-response meta-analysis. Br J Cancer, 2015. 112(3): p. 580-93.
  6. de Menezes, R.F., A. Bergmann, and L.C. Thuler, Alcohol consumption and risk of cancer: a systematic literature review. Asian Pac J Cancer Prev, 2013. 14(9): p. 4965-72.
  7. Turati, F., W. Garavello, I. Tramacere, V. Bagnardi, M. Rota, L. Scotti, F. Islami, G. Corrao, P. Boffetta, C. La Vecchia and E. Negri (2010). "A meta-analysis of alcohol drinking and oral and pharyngeal cancers. Part 2: results by subsites." Oral Oncol 46(10): 720-726.
  8. Pelucchi, C., S. Gallus, W. Garavello, C. Bosetti and C. La Vecchia (2008). "Alcohol and tobacco use, and cancer risk for upper aerodigestive tract and liver." Eur J Cancer Prev 17(4): 340-344.
  9. Hashibe, M., et al., Interaction between tobacco and alcohol use and the risk of head and neck cancer: pooled analysis in the International Head and Neck Cancer Epidemiology Consortium. Cancer Epidemiol Biomarkers Prev, 2009. 18(2): p. 541-50.
  10. Zakhari, S., Chronic alcohol drinking: Liver and pancreatic cancer? Clin Res Hepatol Gastroenterol, 2015. 39 Suppl 1: p. S86-91.
  11. Baecker, A., X. Liu, C. La Vecchia and Z. F. Zhang (2018). "Worldwide incidence of hepatocellular carcinoma cases attributable to major risk factors." Eur J Cancer Prev 27(3): 205-212.
  12. Vanni, E. and E. Bugianesi (2014). "Obesity and liver cancer." Clin Liver Dis 18(1): 191-203.
  13. Marengo, A., C. Rosso and E. Bugianesi (2016). "Liver Cancer: Connections with Obesity, Fatty Liver, and Cirrhosis." Annu Rev Med 67: 103-117.
  14. Cai, S., et al., Alcohol drinking and the risk of colorectal cancer death: a meta-analysis. Eur J Cancer Prev, 2014. 23(6): p. 532-9.
  15. Vieira, A. R., L. Abar, D. S. M. Chan, S. Vingeliene, E. Polemiti, C. Stevens, D. Greenwood and T. Norat (2017). "Foods and beverages and colorectal cancer risk: a systematic review and meta-analysis of cohort studies, an update of the evidence of the WCRF-AICR Continuous Update Project." Ann Oncol 28(8): 1788-1802.
  16. Rossi, M., M. Jahanzaib Anwar, A. Usman, A. Keshavarzian and F. Bishehsari (2018). "Colorectal Cancer and Alcohol Consumption-Populations to Molecules." Cancers (Basel) 10(2).
  17. Choi, Y. J., S. K. Myung and J. H. Lee (2018). "Light Alcohol Drinking and Risk of Cancer: A Meta-Analysis of Cohort Studies." Cancer Res Treat 50(2): 474-487.
  18. Rojas, K. and A. Stuckey, Breast Cancer Epidemiology and Risk Factors. Clin Obstet Gynecol, 2016. 59(4): p. 651-672.
  19. Tamimi, R.M., et al., Population Attributable Risk of Modifiable and Nonmodifiable Breast Cancer Risk Factors in Postmenopausal Breast Cancer. Am J Epidemiol, 2016. 184(12): p. 884-893.
  20. American Association for Cancer Research (AACR), AACR Cancer Progress Report 2019: Transforming Lives Through Innovative Cancer Science. 2019, AACR: Philadelphia, PA.