การดื่มส่งผลต่อสมอง ตับ และหัวใจอย่างไร

การดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลต่ออวัยวะของคุณ (1) เมื่อคุณดื่ม แต่ขอบเขตของผลกระทบนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ข้อมูลต่อไปนี้เป็นสิ่งที่คุณควรรู้
การดื่มส่งผลต่อสมอง ตับ และหัวใจอย่างไร
¿Cómo afecta el consumo de alcohol al cerebro, hígado y corazón?
Illustration of a human head with the brain exposed
Illustration of a human head with the brain exposed

อวัยวะแรกที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มของคุณคือสมอง

ไม่มีใครได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์เหมือนกันโดยสมบูรณ์ แต่โดยปกติคุณจะรู้สึกถึงผลกระทบต่อสมองของคุณภายในเวลาไม่กี่นาที เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่สมองของคุณ เอทานอล จะเกิดปฏิกิริยากับสารเคมีและส่วนที่กำหนดอารมณ์และความรู้สึกของคุณ รวมไปถึงวิธีที่คุณตอบสนองต่อความสุขและความเจ็บปวด การควบคุมและการประสานงานของร่างกาย การเคลื่อนไหว และแม้แต่การหายใจของคุณ (2)

เมื่อคุณดื่มในระดับปานกลาง แอลกอฮอล์จะทำให้คุณมีอาการประหม่าน้อยลงและผ่อนคลายมากขึ้น แต่ยิ่งคุณดื่มมากเท่าไร แอลกอฮอล์ก็จะทำหน้าที่กดประสาทมากขึ้นเท่านั้น และหากดื่มหนักมากในช่วงเวลาสั้น ๆ คุณอาจเสี่ยงที่จะหมดสติได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการมึนเมาอย่างรุนแรงอาจตกอยู่ในอาการโคม่าและหยุดหายใจได้ (3) โดยการตอบสนองทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ ในสมองของคุณ

การวิจัยพบว่าการดื่มอย่างหนักและไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของสมองได้ (4) สมองไม่เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ บางส่วนของสมองจะไม่มีการสร้างใหม่ ดังนั้นความเสียหายใด ๆ จึงไม่สามารถฟื้นฟูได้ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ การดื่มตั้งแต่อายุยังน้อยจึงเป็นอันตราย ในขณะที่สมองของวัยรุ่นยังคงพัฒนาอยู่ การดื่มอาจขัดขวางการเชื่อมต่อของสมองโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ (5, 6)

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์บางชิ้นระบุว่าในผู้สูงอายุบางราย การดื่มในระดับปานกลางอาจส่งผลดีต่อการทำงานของสมอง การดื่มในระดับน้อยและปานกลางอาจเพิ่มประสิทธิภาพความรู้ความเข้าใจและความจำ และช่วยในเรื่องอาการจิตตกที่มักพบได้บ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น (7-9)

แต่ผลกระทบเหล่านี้ใช้ไม่ได้กับทุกคน และคุณไม่ควรเริ่มดื่มด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้นที่สามารถให้คำแนะนำคุณได้ โดยจำเป็นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบในการดื่ม สุขภาพ และวิถีชีวิตของคุณ ผู้สูงอายุอาจต้องการคำแนะนำพิเศษเกี่ยวกับการดื่มที่อาจส่งผลต่อสมองของพวกเขาด้วยเช่นกัน

ภาพประกอบของร่างกายมนุษย์ที่เผยให้เห็นตับและกระเพาะอาหาร
ภาพประกอบของร่างกายมนุษย์ที่เผยให้เห็นตับและกระเพาะอาหาร

ตับเป็นแหล่งขจัดแอลกอฮอล์หลักในร่างกายของคุณ

แอลกอฮอล์ส่วนใหญ่ที่คุณดื่มจะถูกย่อยสลายในตับของคุณใน กระบวนการสองขั้นตอน (10) เอทานอลในเครื่องดื่มของคุณจะถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่เรียกว่าอะซิทัลดีไฮด์ เนื่องจากอะซิทัลดีไฮด์เป็นพิษต่อร่างกายของคุณ สารชนิดนี้จึงถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วและถูกกำจัดออกทางปัสสาวะ

คุณดื่มมากแค่ไหนจึงจะส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อตับของคุณ (11, 12) เอนไซม์ในตับสามารถเผาผลาญเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ประมาณหนึ่งครั้งต่อชั่วโมง ดังนั้นการดื่มมากขึ้นและเร็วขึ้นจะทำให้เกิดอะซิทัลดีไฮด์ที่คงอยู่ในร่างกาย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายได้ ผู้ที่ดื่มหนักเป็นเวลานานอาจเกิดภาวะที่เรียกว่าโรคตับแข็ง ซึ่งเนื้อเยื่อแผลเป็นจะเกิดขึ้นในตับและเป็นอุปสรรคต่อการทำงานตามปกติของตับได้

การที่แอลกอฮอล์ส่งผลต่อตับของคุณนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่นกัน (12) งานวิจัยชี้ว่าการเป็นโรคอ้วนและการทานยาบางชนิดสามารถทำลายตับได้ จึงทำให้ร่างกายไวต่อผลกระทบของอะซิทัลดีไฮด์ หากคุณกังวลเกี่ยวกับผลของการดื่มที่มีต่อสุขภาพตับของคุณ หรือสงสัยว่าตับอาจมีปฏิกิริยากับยาอย่างไร การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมกับคุณ

ภาพประกอบของร่างกายมนุษย์ที่เผยให้เห็นหัวใจ
ภาพประกอบของร่างกายมนุษย์ที่เผยให้เห็นหัวใจ

การดื่มส่งผลต่อหัวใจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณดื่มอย่างไรและคุณเป็นใคร

การดื่มหนักไม่ส่งผลดีต่อหัวใจ ในระยะสั้นผู้ที่ดื่มมากเกินไปอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ (13, 14) และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น (15) โดยในระยะยาวการดื่มหนักอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อหัวใจที่ถาวรมากขึ้นซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ (16) ผู้ที่มีภาวะสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจบางอย่างอาจได้รับคำแนะนำว่าไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เลย

งานวิจัยที่ดำเนินมายาวนานหลายทศวรรษสนับสนุนความคิดที่ว่า สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุบางรายนั้น การดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลดีต่อหัวใจ (17-19) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่ม ผู้ที่ดื่มระดับน้อยและปานกลางในกลุ่มอายุเหล่านี้จะมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า และมีการสะสมในเส้นเลือดน้อยลง (20) ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่เช่นเดียวกับผลกระทบใด ๆ ของแอลกอฮอล์ที่มีต่อร่างกาย ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะได้รับผลในลักษณะเดียวกันทังหมด ปัจจัยอื่น ๆ ต่างมีบทบาทด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ และสุขภาพโดยรวม แม้แต่แอลกอฮอล์ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็อาจมีความเสี่ยงสำหรับบางคน เช่น ผู้ที่รับประทานยาเฉพาะ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์บางรายได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มในระดับปานกลางต่อสุขภาพของหัวใจในผู้สูงอายุ และได้ตั้งข้อสงสัยถึงความแม่นยำในการศึกษาต่าง ๆ (21-23) โดยพบว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องว่าการดื่มอย่างหนักอาจส่งผลต่อหัวใจของคุณ การดื่มสุราอย่างหนักเป็นเวลานานและการดื่มหนักแบบรวดเดียวอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคหัวใจได้ (18). เนื่องจากผลของการดื่มนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน จึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการดื่มและผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อหัวใจของคุณ

References
  1. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Alcohol's Effects on the Body. 2020; Available from:
  2. Abrahao, K.P., A.G. Salinas, and D.M. Lovinger, Alcohol and the Brain: Neuronal Molecular Targets, Synapses, and Circuits. Neuron, 2017. 96(6): p. 1223-1238.
  3. National Health Service (NHS). Alcohol poisoning. 2019; Available from:
  4. Sullivan, E.V., R.A. Harris, and A. Pfefferbaum, Alcohol's effects on brain and behavior. Alcohol Res Health, 2010. 33(1-2): p. 127-43.
  5. Spear, L.P., Effects of adolescent alcohol consumption on the brain and behaviour. Nat Rev Neurosci, 2018. 19(4): p. 197-214.
  6. Squeglia, L.M. and K.M. Gray, Alcohol and Drug Use and the Developing Brain. Curr Psychiatry Rep, 2016. 18(5): p. 46
  7. Sinforiani, E., et al., The effects of alcohol on cognition in the elderly: from protection to neurodegeneration. Funct Neurol, 2011. 26(2): p. 103-6.
  8. Rehm, J., et al., Alcohol use and dementia: a systematic scoping review. Alzheimers Res Ther, 2019. 11(1): p. 1
  9. Brust, J.C., Ethanol and cognition: indirect effects, neurotoxicity and neuroprotection: a review. Int J Environ Res Public Health, 2010. 7(4): p. 1540-57.
  10. Cederbaum, A.I., Alcohol metabolism. Clin Liver Dis, 2012. 16(4): p. 667-85.
  11. Rocco, A., et al., Alcoholic disease: liver and beyond. World J Gastroenterol, 2014. 20(40): p. 14652-9.
  12. Roerecke, M., et al., Alcohol Consumption and Risk of Liver Cirrhosis: A Systematic Review and Meta-Analysis. Am J Gastroenterol, 2019. 114(10): p. 1574-1586.
  13. Gallagher, C., et al., Alcohol and incident atrial fibrillation - A systematic review and meta-analysis. Int J Cardiol, 2017. 246: p. 46-52.
  14. Mostofsky, E., et al., Alcohol and Immediate Risk of Cardiovascular Events: A Systematic Review and Dose-Response Meta-Analysis. Circulation, 2016. 133(10): p. 979-87.
  15. Hillbom, M., P. Saloheimo, and S. Juvela, Alcohol consumption, blood pressure, and the risk of stroke. Curr Hypertens Rep, 2011. 13(3): p. 208-13.
  16. Piano, M.R., Alcohol's Effects on the Cardiovascular System. Alcohol Res, 2017. 38(2): p. 219-241.
  17. Ronksley, P.E., et al., Association of alcohol consumption with selected cardiovascular disease outcomes: a systematic review and meta-analysis. Bmj, 2011. 342: p. d671.
  18. Gardner, J.D. and A.J. Mouton, Alcohol effects on cardiac function. Compr Physiol, 2015. 5(2): p. 791-802.
  19. Kannel, W.B. and R.C. Ellison, Alcohol and coronary heart disease: the evidence for a protective effect. Clin Chim Acta, 1996. 246(1-2): p. 59-76.
  20. Cauley, J.A., et al., Studies on the association between alcohol and high density lipoprotein cholesterol: possible benefits and risks. Adv Alcohol Subst Abuse, 1987. 6(3): p. 53-67.
  21. Goel, S., A. Sharma, and A. Garg, Effect of Alcohol Consumption on Cardiovascular Health. Curr Cardiol Rep, 2018. 20(4): p. 19.
  22. Naimi, T.S., et al., Selection biases in observational studies affect associations between 'moderate' alcohol consumption and mortality. Addiction, 2017. 112(2): p. 207-214.
  23. Stockwell, T., et al., Do "Moderate" Drinkers Have Reduced Mortality Risk? A Systematic Review and Meta-Analysis of Alcohol Consumption and All-Cause Mortality. J Stud Alcohol Drugs, 2016. 77(2): p. 185-98.