การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่?

คำตอบสั้น ๆ : การดื่มมากเกินไปอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลง นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีแนวโน้มที่คุณจะมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง (รวมถึงการไม่สวมหน้ากากหรือปฏิบัติตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม) สิ่งนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 และโรคติดต่ออื่น ๆ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการดื่ม ในเฉพาะตัวของมันเอง และความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนานั้นยังคงมีการคิดค้นต่อไป ไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มอย่างพอเหมาะมีแนวโน้มที่จะติดโรคดังกล่าวมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้บางประเทศนำข้อห้ามใหม่มาใช้ และแม้กระทั่งมีการห้ามขายและให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่มีการปิดพื้นที่ นี่คือข้อเท็จจริงเบื้องต้นบางประการ
การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่?
การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่?

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าพฤติกรรมและบริบทบางอย่างเพิ่มโอกาสในการแพร่เชื้อและการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากไวรัสถูกส่งผ่านละอองในอากาศขนาดเล็กที่เรียกว่าละอองลอยเป็นหลัก การใส่หน้ากากอนามัยและการรักษาระยะห่างทางกายภาพจึงมีความสำคัญเพื่อป้องกันการแพร่กระจายและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ (1, 2).

มาตรการหลักอื่น ๆ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการชุมนุมขนาดใหญ่และอยู่ในพื้นที่จำกัด นี่คือสาเหตุที่ร้านค้าและสถานที่ให้บริการ ซึ่งยังเปิดให้บริการอยู่นั้น ต้องลดจำนวนคนเข้าใช้บริการและพยายามทำให้การระบายอากาศและการถ่ายเทอากาศมีประสิทธิภาพ (3, 4) ขอแนะนำให้จัดงานสังสรรค์ในพื้นที่กลางแจ้ง (2, 3, 5).

เหตุใดการระบาดจึงทำให้เกิดคำถามว่าการดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนในการทำให้ติดเชื้อและแพร่เชื้อไวรัส และส่งผลต่อการลุกลามและความรุนแรงของโรคหรือไม่

พฤติกรรมหลังการดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์และการติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไป อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้ออื่นๆ แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอเหมาะ และสอดคล้องกับแนวทางการดื่มที่แนะนำนั้น ไม่ได้มีโอกาสที่จะติดเชื้อสูงไปกว่าคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลย (6, 7) หากพวกเขาปฏิบัติตามข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 หากผู้ดื่มนั้นปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องความปลอดภัย เมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจนเกิดอาการมึนเมา การควบคุมตนเองจะลดลง อาจมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง และมีแนวโน้มจะปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องการสวมหน้ากากหรือปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมน้อยลง (8, 9)

ปริมาณที่ดื่มมีผลต่อสุขภาพและความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อ

สำหรับคนส่วนใหญ่ การดื่มอย่างพอเหมาะเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ที่สมดุล (10) การวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการดื่มอย่างพอเหมาะจะไม่ไปทำลายการตอบสนองของภูมิคุ้มกันหรือความสามารถในการต่อสู้กับโรคของคุณ (6, 11)

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มเยอะและเป็นเวลานาน อาจมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่า (13-15) คนที่ไม่ดื่มเลยหรือดื่มอย่างพอเหมาะ งานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันอาจจะลดต่ำลงทันทีหลังจากที่มีการดื่มมากเกินไปและดื่มมาเป็นเวลานาน (16, 17) ประสบการณ์จากโรคติดเชื้ออื่นๆ ยังบ่งชี้อีกว่าการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นเวลานานส่งผลต่อประสิทธิภาพของการรักษาอีกด้วย (13, 15, 17-19)

การทดลองทางคลินิกในคนจำนวนหลายหมื่นคนในพื้นที่ทดสอบมากกว่า 150 แห่งทั่วโลกพบว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการดื่มอย่างพอเหมาะจะลดประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดื่มของตนเอง หรือสงสัยว่าการดื่มจะมีผลต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 หรือมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างไร การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง

การดื่มมากเกินไปสามารถทำร้ายคุณได้หลายด้าน โดยเฉพาะในช่วงที่มีโรคระบาด

การดื่มที่มากเกินไปมักเป็นอันตรายกับสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ และผลของมันอาจจะเลวร้ายขึ้นไปอีกในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดจากความโดดเดี่ยวและความไม่แน่นอนที่หลายๆ คนกำลังเผชิญ.

การดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายความเครียดไม่ใช่ทางเลือกที่ฉลาดและไม่มีประสิทธิภาพ การดื่มมากไปจะทำให้รู้สึกหดหู่และวิตกกังวล และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณและคนรอบข้าง

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุรา (Alcohol Use Disorder หรือ AUD) และสามารถรบกวนวงจรการนอนหลับได้ (20, 21) การนอนหลับมีความสำคัญต่อสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมของเรา การนอนหลับที่ดีสามารถช่วยพัฒนาอารมณ์ให้ดีขึ้นและยังเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรง.

การดื่มที่มากเกินไปยังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หากคุณเลือกที่จะดื่ม ต้องให้แน่ใจว่าคุณดื่มในปริมาณที่แนะนำภายใต้แนวทางการดื่มที่เป็นทางการ

การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยป้องกันคุณจากการติดเชื้อ

การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 (22) แอลกอฮอล์บริสุทธิ์สามารถฆ่าเชื้อบนพื้นผิวต่างๆ และถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือเพื่อช่วยป้องกันการระบาดของโรค แต่เบียร์ ไวน์ และสุรากลั่นมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่น้อยกว่ามาก และการดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ไม่มีส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อ การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดมือจะเป็นพิษต่อร่างกาย และทำให้ป่วย หรือเสียชีวิตได้ (23)

หากคุณเลือกที่จะดื่ม การรักษาปริมาณการดื่มให้อยู่ภายใต้ขีดจำกัดที่แนะนำก็มีความสำคัญในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไม่แพ้ช่วงเวลาอื่นๆ

การรักษาปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปให้อยู่ภายใต้แนวทางปฏิบัติที่แนะนำเป็นสิ่งสำคัญในการหลีกเลี่ยงการดื่มที่มากเกินไปและการทำลายสุขภาพ (19) การตรวจเช็คว่าคุณดื่มไปมากแค่ไหนในการดื่มหนึ่งครั้ง ในหนึ่งวัน หรือในหนึ่งสัปดาห์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอยู่เสมอ.

หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการดื่มของตนเองหรือของคนอื่นๆ อาจถึงเวลาที่คุณต้องหาตัวช่วย มีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้คุณเข้าใจระดับความเสี่ยงของตนเองได้

การดื่มที่มากเกินไปยังอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หากคุณเลือกที่จะดื่ม ต้องให้แน่ใจว่าคุณดื่มในปริมาณที่แนะนำภายใต้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดื่มอย่างเป็นทางการ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดื่มของตนเอง หรือสงสัยว่าการดื่มจะมีผลต่อความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 หรือมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างไร การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะดีที่สุดในการช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง

References
  1. World Health Organization (WHO). Modes of transmission of virus causing COVID-19: implications for IPC precaution recommendations. Global research on coronavirus disease (COVID-19). 2020; Available from:
  2. World Health Organization (WHO). Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public. 2020 [cited 2020 13 October ]; Available from:
  3. Morawska, L., et al., How can airborne transmission of COVID-19 indoors be minimised? Environ Int, 2020. 142: p. 105832.
  4. Cooperative Institute for Research in Environmental Sciences at the University of Colorado Boulder (CIRES). COVID Airborne Transmission Estimator. 2020; Available from:
  5. Health Information and Quality Authority (HIQA), Advice to the National Public Health Emergency Team: What activities or settings are associated with a higher risk of SARS-CoV-2 transmission. 2020, HIQA: Dublin.
  6. Szabo, G. and B. Saha, Alcohol's Effect on Host Defense. Alcohol Res, 2015. 37(2): p. 159-70.
  7. Romeo, J., et al., Moderate alcohol consumption and the immune system: a review. Br J Nutr, 2007. 98 Suppl 1: p. S111-5.
  8. Scott-Sheldon, L.A., et al., Alcohol Use Predicts Sexual Decision-Making: A Systematic Review and Meta-Analysis of the Experimental Literature. AIDS Behav, 2016. 20 Suppl 1(0 1): p. S19-39.
  9. Harmon, D.A., A.L. Haas, and A. Peterkin, Experimental tasks of behavioral risk taking in alcohol administration studies: A systematic review. Addict Behav, 2021. 113: p. 106678.
  10. Li, Y., et al., Impact of Healthy Lifestyle Factors on Life Expectancies in the US Population. Circulation, 2018. 138(4): p. 345-355.
  11. Messaoudi, I., et al., Moderate alcohol consumption enhances vaccine-induced responses in rhesus macaques. Vaccine, 2013. 32(1): p. 54-61.
  12. Sureshchandra, S., et al., Dose-dependent effects of chronic alcohol drinking on peripheral immune responses. Sci Rep, 2019. 9(1): p. 7847.
  13. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA), Alcohol's effects on immunity -- increasing the risks for infection and injury. Alcohol Research Current Reviews, 2015. 89.
  14. Barr, T., et al., Opposing effects of alcohol on the immune system. Prog Neuropsychopharmacol Biol Psychiatry, 2016. 65: p. 242-51.
  15. Szabo, G. and P. Mandrekar, A recent perspective on alcohol, immunity, and host defense. Alcohol Clin Exp Res, 2009. 33(2): p. 220-32.
  16. Molina, P.E. and S. Nelson, Binge Drinking's Effects on the Body. Alcohol Res, 2018. 39(1): p. 99-109.
  17. Chick, J., Alcohol and COVID-19. Alcohol and Alcoholism, 2020. 55(4): p. 341-342.
  18. Molina, P.E., et al., Focus on: Alcohol and the immune system. Alcohol Res Health, 2010. 33(1-2): p. 97-108.
  19. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Alcohol Use Disorder. 2020; Available from:
  20. Hu, N., et al., Alcohol consumption and incidence of sleep disorder: A systematic review and meta-analysis of cohort studies. Drug Alcohol Depend, 2020. 217: p. 108259.
  21. Stein, M.D. and P.D. Friedmann, Disturbed sleep and its relationship to alcohol use. Subst Abus, 2005. 26(1): p. 1-13.
  22. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Drinking alcohol does not prevent or treat coronavirus infection and may impair immune function. 2020; Available from:
  23. Lachenmeier, D.W., J. Rehm, and G. Gmel, Surrogate alcohol: what do we know and where do we go? Alcohol Clin Exp Res, 2007. 31(10): p. 1613-24.