ความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่ม คืออะไร และคุณจะเห็นปัญหาได้อย่างไร

จากการรับรู้สัญญาณของการพึ่งพาไปจนถึงประเภทของการรักษาที่มีให้บริการ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อพูดถึงปัญหาการดื่ม

ความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่ม คืออะไร และคุณจะเห็นปัญหาได้อย่างไร
ความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่ม คืออะไร และคุณจะเห็นปัญหาได้อย่างไร

การดื่มมากเกินไปและต่อเนื่องอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณควรขอคำแนะนำเพื่อประเมินการดื่มของคุณใหม่

สำหรับบางคน ปัญหาการดื่มอาจเกิดขึ้นชั่วคราวและเกี่ยวข้องกับความเครียดหรือปัญหาอื่น ๆ แต่ก็ยังทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง ผู้อื่น และมีปัญหาความสัมพันธ์ การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอหากคุณมีปัญหาเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เนื่องจากหลายคนสามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับการดื่มได้สำเร็จโดยการเปลี่ยนพฤติกรรม

แต่มีบางคนที่ดื่มหนักและต่อเนื่องและส่งผลกระทบรุนแรงกว่า พวกเขาอาจมีความต้องการที่จะดื่มอย่างต่อเนื่อง และได้รับผลกระทบทางกายภาพที่ไม่พึงประสงค์จากการพยายามเลิกดื่ม (1) พวกเขาอาจเลิกทำกิจกรรมที่ชอบ ถอนตัวจากความสัมพันธ์ และละเลยส่วนอื่น ๆ ของชีวิตเพื่อมุ่งเน้นไปที่การดื่ม อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงการติดสุรา หรือที่เรียกว่าความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุรา (AUD) ความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุราอย่างรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญและรับการรักษาที่อาจเป็นไปได้

มีแหล่งข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจว่าการดื่มของคุณเป็นอันตรายหรือไม่ และระบุแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม

หากคุณกังวลกับการดื่มของตนเอง มีเครื่องมือที่ช่วยระบุได้ว่าอาการของคุณรุนแรงเพียงใด และคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนนิสัยของคุณ หากคุณกังวลเกี่ยวกับการดื่มของผู้อื่น แหล่งข้อมูลเหล่านี้สามารถสนับสนุนคุณในการช่วยเหลือพวกเขาได้

ในขั้นตอนแรกเครื่องมือง่าย ๆ ที่เรียกว่า AUDIT (แบบทดสอบเพื่อระบุความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่มสุรา) (2, 3) สามารถช่วยให้คุณทราบได้ว่าคุณควรกังวลหรือไม่ นอกจากนี้ AUDIT ยังช่วยระบุได้ว่าคุณอาจต้องการการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่คุณจะได้ติดตามผลกับผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม โดยคุณสามารถทำแบบทดสอบของเราได้ที่นี่

สำหรับหลายคน การที่มีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลสามารถช่วยเตรียมความพร้อมด้านแรงจูงใจในการดื่ม และพฤติกรรมที่พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ความช่วยเหลืออาจช่วยให้คุณเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาของคุณ แนวทางนี้ได้รับการพัฒนาโดยองค์การอนามัยโลกเพื่อช่วยเหลือผู้ไร้ที่พึ่ง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิผลในการรักษาการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว (4-6)

AUD เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ซับซ้อนซึ่งมีหลายสาเหตุ แต่ยังมีทางเลือกในการรักษาอีกมากมาย

การเข้ามาช่วยเหลืออาจไม่เพียงพอหากปัญหาของคุณรุนแรงขึ้น (7) AUD เป็นภาวะสุขภาพจิตและการเสพติดรูปแบบหนึ่งซึ่งมักเรียกว่า "โรคพิษสุราเรื้อรัง" (1, 8) ผู้ที่มี AUD มีความต้องการอย่างมากที่จะดื่ม และได้รับผลกระทบทางกายภาพที่ไม่พึงประสงค์จากการถอนตัวเมื่อไม่ได้ดื่ม พวกเขาอาจละทิ้งกิจกรรมและความสัมพันธ์ที่น่าพึงพอใจอื่น ๆ และจดจ่ออยู่กับการดื่ม หรืออาจได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการดื่มของตน

ต้นตอของ AUD มีความซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล:

AUD มักไม่ค่อยเกิดจากสาเหตุเดียว และเป็นผลมาจากการรวมกันของปัจจัยต่าง ๆ และมีหลายสาเหตุที่บางคนพัฒนาไปเป็น AUD แต่บางคนกลับไม่เป็น สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าปัญหาการดื่มสุราไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอหรือความล้มเหลวทางศีลธรรม

ปัญหาการดื่มสุราและ AUD สามารถรักษาได้เช่นเดียวกับการเสพติดและสุขภาพจิตในรูปแบบอื่น ๆ วิธีการรักษาที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหา สาเหตุพื้นฐาน และแต่ละบุคคล สำหรับบางคน กลุ่มช่วยเหลือตนเองและสนับสนุน เช่น ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา อาจเป็นช่องทางในการเริ่มต้น ส่วนบางคน ตอบสนองต่อการรักษาและการให้คำปรึกษาทางจิตเวชได้ดีกว่า หรือการใช้ยาที่สามารถช่วยให้พวกเขาเลิกดื่มได้ ไม่ว่าวิธีการรักษาหรือการแทรกแซงใด ๆ หากคุณเป็น AUD หรือรู้จักใครก็ตามที่เป็น สภาพแวดล้อมและเครือข่ายที่สนับสนุนเป็นกุญแจสำคัญต่อผลลัพธ์ที่ดี

References
  1. American Psychiatric Association (APA), Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). . 2013, APA: Arlington, VA.
  2. Babor, T.F., et al., The Alcohol Use Disorders Idenfitication Test. Guidelines for Use in Primary Care. Second Edition. 2001, World Health Organization: Geneva.
  3. World Health Organization Regional Office for Europe (EURO). Take the AUDIT test now. 2020; Available from:
  4. Beyer, F.R., et al., The Cochrane 2018 Review on Brief Interventions in Primary Care for Hazardous and Harmful Alcohol Consumption: A Distillation for Clinicians and Policy Makers. Alcohol Alcohol, 2019. 54(4): p. 417-427.
  5. Kaner, E.F., et al., Effectiveness of brief alcohol interventions in primary care populations. Cochrane Database Syst Rev, 2018. 2: p. Cd004148.
  6. Anderson, P., A. O'Donnell, and E. Kaner, Managing Alcohol Use Disorder in Primary Health Care. Curr Psychiatry Rep, 2017. 19(11): p. 79
  7. Witkiewitz, K., R.Z. Litten, and L. Leggio, Advances in the science and treatment of alcohol use disorder. Sci Adv, 2019. 5(9): p. eaax4043.
  8. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Alcohol Use Disorder. 2020; Available from:
  9. Edenberg, H.J., J. Gelernter, and A. Agrawal, Genetics of Alcoholism. Curr Psychiatry Rep, 2019. 21(4): p. 26.
  10. Bierut, L.J., et al., A genome-wide association study of alcohol dependence. Proc Natl Acad Sci U S A, 2010. 107(11): p. 5082-7.
  11. Suh, J. and K.J. Ressler, Common Biological Mechanisms of Alcohol Use Disorder and Post-Traumatic Stress Disorder. Alcohol Res, 2018. 39(2): p. 131-145.
  12. Gilpin, N.W. and J.L. Weiner, Neurobiology of comorbid post-traumatic stress disorder and alcohol-use disorder. Genes Brain Behav, 2017. 16(1): p. 15-43.
  13. McHugh, R.K. and R.D. Weiss, Alcohol use disorder and depressive disorders. Alcohol Research, 2019. 40(1): p. arcr.v40.1.01.
  14. Bonomo, Y.A., et al., Teenage drinking and the onset of alcohol dependence: a cohort study over seven years. Addiction, 2004. 99(12): p. 1520-8.
  15. Spear, L.P., Adolescent alcohol exposure: Are there separable vulnerable periods within adolescence? Physiol Behav, 2015. 148: p. 122-30.