ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของการดื่มหนักแบบรวดเดียวคืออะไร

แม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่เป็นที่เข้าใจตรงกันของการดื่มหนักแบบรวดเดียว แต่การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจส่งผลร้ายแรงได้

ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของการดื่มหนักแบบรวดเดียวคืออะไร
ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวของการดื่มหนักแบบรวดเดียวคืออะไร

การดื่มหนักแบบรวดเดียวเป็นรูปแบบการดื่มที่มีความเสี่ยงเสมอ

เมื่อมีการบริโภคแอลกอฮอล์จำนวนมากอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้น สิ่งนี้เรียกว่าการดื่มหนักแบบรวดเดียว (1) นอกจากนี้ยังมีการใช้คำว่า ‘การดื่มหนักเป็นพัก ๆ’ ด้วย (2) ส่วนใหญ่ให้คำจำกัดความของการดื่มหนักแบบรวดเดียว สำหรับผู้หญิง ตั้งแต่สี่ดื่มมาตรฐานขึ้นไปในช่วงเวลาสั้น ๆและห้าดื่มมาตรฐานขึ้นไปสำหรับผู้ชาย (3) แต่โดยทั่วไปหมายถึงการดื่มในปริมาณมากจนทำให้เกิดความมึนเมา และอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (4).

การดื่มหนักแบบรวดเดียวจะทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เนื่องจากตับสามารถ เผาผลาญการดื่มแอลกอฮอล์ประมาณหนึ่งครั้งต่อชั่วโมง ยิ่งคุณดื่มมากเท่าไร แอลกอฮอล์ก็จะยิ่งสะสมในกระแสเลือด และส่งต่อไปยังสมองและอวัยวะอื่น ๆ (5)

ในระยะสั้น แอลกอฮอล์ในเลือดที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณ ดังนี้

  • ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นและหัวใจของคุณอาจเต้นผิดปกติ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ‘โรคฮอลิเดย์ ฮาร์ท’ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันซึ่งอาจเกิดจากการดื่มหนักแบบรวดเดียว (6)

  • เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นยากล่อมประสาทในระดับสูง การดื่มอย่างหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ อาจทำให้สมองสั่งหยุดการหายใจได้ (7) ปอดของคุณอาจเต็มไปด้วยอาเจียนหรือเสมหะ และมีความเสี่ยงที่จะสำลักเมื่อคุณดื่มหนักแบบรวดเดียว

  • แอลกอฮอล์ในระดับสูงมากในระบบร่างกายอาจทำให้เป็นพิษได้ (8) การดื่มหนักแบบรวดเดียวสามารถทำให้คุณขาดน้ำอย่างรุนแรง และระดับน้ำตาลในเลือดอาจลดต่ำลงอย่างอันตราย

การศึกษาชี้ว่าผู้ที่ดื่มหนักแบบรวดเดียว อาจมีแนวโน้มพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือการเมาแล้วขับ นอกจากนี้ การดื่มหนักแบบรวดเดียว ยังส่งผลให้ ได้รับบาดเจ็บ จากการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

แม้ว่าคุณจะสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบระยะสั้นของการดื่มหนักแบบรวดเดียวได้ แต่หากดื่มในลักษณะนี้บ่อยครั้งซ้ำ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปอาจเป็นอันตรายต่อตับ หัวใจ สมอง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและความเจ็บป่วยอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ผู้คนดื่มหนักแบบรวดเดียวด้วยสาเหตุหลายประการ

แม้ว่าการดื่มหนักแบบรวดเดียวจะเป็นรูปแบบการดื่มตามปกติสำหรับนักดื่มที่มีปัญหาหรือผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุราบางราย แต่ยังมีคนอีกมากมายที่ดื่มหนักแบบรวดเดียวเช่นกัน โดยมีสาเหตุหลายประการ (9) เช่น ความพยายามในการรับมือกับความเครียด ภาวะซึมเศร้า หรือความวิตกกังวล แรงกดดันจากคนรอบข้างอาจเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญของการดื่มหนักแบบรวดเดียวในผู้ใหญ่และวัยรุ่น การดื่มมากเกินไปมักมีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพจิต ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณดื่มหนักแบบรวดเดียว

ไม่ว่าสาเหตุและแรงจูงใจคืออะไร การดื่มหนักแบบรวดเดียวอาจเป็นปัญหาที่แท้จริงต่อทั้งสุขภาพและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างของคุณ ด้วยเหตุนี้ แนวทางการดื่ม ในหลายประเทศ จึงได้พยายามดึงความสนใจเป็นพิเศษ พร้อมให้คำแนะนำ เกี่ยวกับอันตรายของการดื่มหนักแบบรวดเดียว (10) มีการเปิดตัวแคมเปญการศึกษาในโรงเรียนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและลดการยอมรับการดื่มในลักษณะนี้ (11) นอกจากนี้ ผู้ที่ประกอบอาชีพให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบาร์ ร้านอาหาร และคลับต่าง ๆ ยังสามารถรับการฝึกอบรม วิธีระบุ และจัดการกับการดื่มหนักแบบรวดเดียวและการดื่มที่มีปัญหาอื่น ๆ ทั้งนี้ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับการดื่มของตนเองหรือผู้อื่น การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพูดคุยถึงรูปแบบการดื่มถือเป็นขั้นตอนแรกที่ดี

References
  1. National Health Service (NHS). Binge drinking. 2019; Available from:
  2. World Health Organization (WHO). Heavy episodic drinking among drinkers. 2020; Available from:
  3. National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism (NIAAA). Drinking levels defined. 2020; Available from:
  4. Molina, P.E. and S. Nelson, Binge Drinking's Effects on the Body. Alcohol Res, 2018. 39(1): p. 99-109.
  5. Cederbaum, A.I., Alcohol metabolism. Clin Liver Dis, 2012. 16(4): p. 667-85.
  6. Mostofsky, E., et al., Alcohol and Immediate Risk of Cardiovascular Events: A Systematic Review and Dose-Response Meta-Analysis. Circulation, 2016. 133(10): p. 979-87.
  7. Harrison, N.L., et al., Effects of acute alcohol on excitability in the CNS. Neuropharmacology, 2017. 122: p. 36-45.
  8. Jung, Y.C. and K. Namkoong, Alcohol: intoxication and poisoning - diagnosis and treatment. Handb Clin Neurol, 2014. 125: p. 115-21.
  9. Kuntsche, E., et al., Binge drinking: Health impact, prevalence, correlates and interventions. Psychol Health, 2017. 32(8): p. 976-1017.
  10. International Alliance for Responsible Drinking (IARD). Drinking guidelines for pregnancy and breastfeeding. 2020; Available from:
  11. Foxcroft, D.R. and A. Tsertsvadze, Universal school-based prevention programs for alcohol misuse in young people. Cochrane Database Syst Rev, 2011(5): p. Cd009113.